รวมคำศัพท์วิจัย
Research and
Development
Research and development หมายถึง
การวิจัย และพัฒนา หรือนิยมเรียกเป็นอักษรย่อว่า การวิจัยแบบ R&D
เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้า วิจัย ที่จัดทำอย่างเป็นระบบ
และน่าเชื่อถือ เป็นการวิจัยที่มุ่งพัฒนาทางเลือกใหม่ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพงาน
หรือเพื่อการพัฒนาผลผลิต เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ สื่อ อุปกรณ์ เทคนิควิธี หรือรูปแบบการทำงาน
หรือระบบบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยมีลักษณะที่สำคัญ
ดังนี้
1. เป็นงานวิจัยที่เกิดจากความไม่พอใจในงาน
หรือคุณภาพงานที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน
2. มีการสร้างนวัตกรรม/ชิ้นงาน/กระบวนการทำงานใหม่ๆ
นำมาใช้ในการยกระดับคุณภาพงาน(Treatment)
3. มีการพัฒนานวัตกรรมในลักษณะของ R&D อย่างต่อเนื่อง จนได้นวัตกรรมที่มีคุณภาพ แล้วทำการทดลองใช้ครั้งสำคัญ
ก่อนที่จะสรุปผลการวิจัย
4. ผลลัพธ์ที่ได้ คือ นวัตกรรม ซึ่งอาจเป็นสิ่งประดิษฐ์
หรือกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ เป็นรูปธรรม
Qualitative
Research
Qualitative
Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)
เป็นการวิจัยที่ยึดแนวคิดพื้นฐานปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology) ที่มุ่งแสวงหาความจริงในสภาพที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ (Naturalistic
inquiry) ซึ่งเป็นการศึกษาจากภาพรวมทุกมิติ (Holistic
perspective) ด้วยตัวผู้วิจัยเอง เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่สนใจ
กับสภาพแวดล้อมนั้นๆ
โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของมนุษย์
และความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เป็นการวิจัยที่เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ
สร้างข้อสรุปแบบอุบนัย (Inductive analysis) ผู้วิจัยมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือในการวิจัย
ใช้จำนวนผู้ให้ข้อมูลน้อย แต่ศึกษาแนวลึกเฉพาะกลุ่มที่สนใจ
รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพที่สำคัญ มี 6 รูปแบบ คือ
1.
การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic study)
2.
การวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology study)
3.
การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study method)
4.
การวิจัยชีวประวัติบุคคล (Biographical study)
5.
การวิจัยแบบสร้างทฤษฎี (Grounded theory study)
6. การวิจัยแบบสนทนากลุ่ม
(Focus group study)
Quantitative
Research
Quantitative
Research (การวิจัยเชิงปริมาณ) เป็นการแสวงหาความรู้
หรือข้อเท็จจริงของสิ่งที่ศึกษา ด้วยวิธีการที่เป็นระบบระเบียบ น่าเชื่อถือได้
เพื่อบรรยาย อธิบาย ทำนาย หรือควบคุมสิ่งที่ศึกษา ซึ่งวิธีการวิจัย
ได้พัฒนามาจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือแนวคิดแบบปฏิฐานนิยม (positivism) โดยมีความเชื่อว่า ความรู้ความจริงแยกเป็นหนึ่งเดียวได้ (single) มีภาวะความเป็นปรนัย สามารถสังเกต วัดเป็นปริมาณ หรือตัวเลข(number) ได้ เพื่อกำหนดเป็นปริมาณ
ดังนั้นการเข้าถึงความจริง จะต้องใช้วิธีการทีมีระบบ ตามแนววิทยาศาสตร์
จะต้องมีการออกแบบการวัดตัวแปรที่มุ่งศึกษาอย่างรัดกุม เป็นการวิจัยที่เน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
และป็นการวิจัยที่ให้ความสำคัญกับหลักวัตถุวิสัย หรือความเป็นปรนัย
(objectivity) ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ทั้งความเที่ยงตรง
(validity) และความเชื่อมั่น (reliability) เครื่องมือที่นิยมใช้ เช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบวัดต่างๆ
แบบสังเกตที่เป็นลักษณะเชิงปริมาณ เป็นต้น
ข้อมูลที่วัดได้ จะตีค่าในรูปเชิงปริมาณ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (descriptive statistics) หรือสถิติสรุปอ้างอิง (inferential statistics) นอกจากนี้ยังเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการสรุปอ้างอิง
(generalization) ผลการวิจัยไปยังกลุ่มประชากร และมักจบลงด้วยการสนับสนุน
หรือไม่สนับสนุนสมมติฐานที่กำหนด เป็นการวิจัยเพื่อทดสอบทฤษฎี
หรือข้อสรุปแบบนิรนัย (deductive) เน้นความน่าเชื่อถือได้
โดยมุ่งหวังให้มีทั้งความตรงภายใน (internal validity)และความตรงภายนอก
(external validity)
รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ที่สำคัญ
ได้แก่
1. การวิจัยเชิงทดลอง (true experimental research)
2. การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (quasi experimental research)
3.
การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research)
4.
การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (co-relational research)
5.
การวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ (causal comparative
research/ ex-post facto research)
สมมุติฐาน(Hypothesis)
สมมุติฐาน คือ จุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้า
และเป็นข้อความที่เสนอคำตอบที่คาดคิดว่าน่าจะเป็นสำหรับปัญหาการวิจัยที่กำหนดศึกษา
ชนิดของสมมติฐาน
1.
สมมติฐานทางวิจัย (Research
Hypothesis)
2.
สมมติฐานทางสถิติ (Statistical
Hypothesis)
2.1
สมมติฐานหลัก (Null hypothesis)
2.2
สมมติฐานเลือก (Alternative hypothesis)
Mixed Method Research
ความหมาย
Creswell, Plano, Clark,
Gutman and Hanson (2003
p.212) ให้ความหมายของการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods
Research) หมายถึง การวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลทั้งที่เป็นชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ซึ่งอาจเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันหรือเป็นลำดับก่อนหลังก็ได้
โดยผู้วิจัยให้ความสำคัญกับข้อมูลเป็นอันดับแรกและเกี่ยวข้องกับการบูรณาการข้อมูล
ณ จุดหนึ่งจุดใดในกระบวนการวิจัย
ความสำคัญของการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research)
การวิจัยแบบผสมผสาน( Mixed Methods Research) มีความสำคัญตามแนวคิดของ Greene and others (1989) ; Trocim (2002) ;
Creswell (2003) ; Punch (2003) ; Viedero (2005) มี ดังนี้
1.
ผลการวิจัยจากวิธีการวิจัยแบบผสมผสานสามารถเสริมต่อกันโดยใช้ผลการวิจัยจากวิธีหนึ่ง
อธิบายขายความผลการวิจัยอีกวิธีหนึ่ง
ช่วยให้การตอบคำถามการวิจัยได้ละเอียดชัดเจนมากกว่าการใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพเพียงรูปแบบเดียว
2.
การใช้ผลการวิจัยจากวิธีหนึ่งไปช่วยพัฒนาการวิจัยอีกวิธีหนึ่งหรือการใช้ผลการวิจัยวิธีหนึ่ง
ไปตั้งคำถามการวิจัยอีกวิธีหนึ่ง
3.
การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพต่างก็มีจุดเด่นในตนเอง
สามารถนำจุดเด่นมาใช้
ในการแสวงหาความรู้ความจริงได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
4.
การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพต่างก็มีจุดด้อยในตนเอง
ผู้วิจัยสามารถนำจุดเด่น
ของการวิจัยเชิงปริมาณมาแก้ไขจุดด้อยของการวิจัยเชิงคูณภาพ
ขณะเดียวกันอาจใช้จุดเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้แก้ไขจุดด้อยของการวิจัยเชิงปริมาณ
5.
สามารถนำผลผลิตจากการวิจัยแบบผสมผสานมาสร้างความรู้ความจริงที่สมบูรณ์สำหรับใช้
ในการปรับเปลี่ยนทฤษฎีหรือการปฏิบัติงาน
แบบแผนของการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research)
การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในปัจจุบันมีแบบแผนการวิจัย 2
แบบแผน ดังนี้
1.
แบบแผนที่
1
การออกแบบการวิจัยเป็นลำดับ (Sequential Designs) แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ
ดังนี้
1.1
รูปแบบเชิงอธิบายเป็นลำดับ
(Sequential Explanatory) การวิจัยรูปแบบนี้ผู้วิจัยจะแบ่ง
การวิจัยออกเป็นระยะ ๆ (Phases)
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณก่อนในระยะที่หนึ่ง
แล้วดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เชิงคุณภาพในระยะที่สอง
ผู้วิจัยจะให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ
ซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพจะใช้เสริมหรือสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
การบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการตีความและการอภิปรายผล
1.2
รูปแบบเชิงสำรวจเป็นลำดับ
(Sequential Exploratory)การวิจัยรูปแบบนี้ผู้วิจัยจะแบ่งการ
วิจัยออกเป็นระยะ ๆ (Phases)
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพก่อนในระยะที่หนึ่ง
แล้วดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เชิงปริมาณในระยะที่สอง
ผู้วิจัยจะให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ
ซึ่งข้อมูลเชิงปริมาณจะใช้เสริมหรือสนับสนุนข้อมูลเชิงคุณภาพ
การบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการตีความและการอภิปรายผล
1.3
รูปแบบเชิงปริวรรตเป็นลำดับ
(Sequential Transformative) การวิจัยรูปแบบนี้ผู้วิจัยจะ
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณก่อนในระยะที่หนึ่ง
แล้วดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพในระยะที่สอง
ผู้วิจัยอาจจะให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ
หรือข้อมูลเชิงปริมาณมากกว่าข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือให้ความสำคัญเท่า ๆ กัน
ซึ่งข้อมูลจะใช้เสริมหรือสนับสนุนซึ่งกันและกัน
การบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการตีความและการอภิปรายผล
2.
แบบแผนที่
2
การออกแบบการวิจัยแบบเกิดพร้อมกัน (Concurrent
Designs) แบ่งเป็น 3
รูปแบบ ดังนี้
2.1
รูปแบบเชิงสามเส้าแบบเกิดพร้อมกัน
(Concurrent Triangulation) การวิจัยรูปแบบนี้
ผู้วิจัยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพร้อมกัน
ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับข้อมูลทั้งสองประเภทเท่ากัน
การวิเคราะห์ข้อมูลอาจจะแยกกันและการบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการตีความข้อมูล
การตีความเป็นการอภิปรายว่าข้อมูลมาบรรจบกันมากน้อยเพียงใด
การวิจัยประเภทนี้เหมาะที่ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้องหรือตรวจสอบผลการวิจัยที่ได้จากแต่ละวิธี
2.2
รูปแบบเชิงฝังตัวแบบเกิดพร้อมกัน
(Concurrent Embedded)
การวิจัยรูปแบบนี้ ผู้วิจัย
เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพร้อมกัน
แต่ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับข้อมูลทั้งสองประเภทไม่เท่ากัน
ข้อมูลที่ฝังตัวอยู่ข้างในจะมีความสำคัญน้อยกว่า
ซึ่งข้อมูลที่ฝังตัวจะใช้เพื่อตอบคำถามการวิจัยที่ต่างออกไป
การวิเคราะห์ข้อมูลมักเป็นการแปรรูปข้อมูล การบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยประเภทนี้เหมาะที่ใช้เพื่อศึกษาหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่งในมุมกว้าง
ๆ และในการศึกษากลุ่มหลายกลุ่มในงานวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
2.3
รูปแบบเชิงปริวรรตแบบเกิดพร้อมกัน (concurrent Transformative) การ
วิจัยรูปแบบนี้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพร้อมกัน
ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจให้ความสำคัญกับข้อมูลทั้งสองประเภทเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้
การวิเคราะห์ข้อมูลมักเกิดแยกกัน
การบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการตีความข้อมูล
Experimental Research
การวิจัยเชิงทดลอง คือ การวิจัยที่ใช้ตัวแปรอิสระอย่างน้อย 1 ตัว ซึ่งจะถูกเรียกว่า ตัวแปรทดลองและตัวแปรทดลองนี้จะถูกจัดกระทำอย่างรอบคอบโดยผู้วิจัย
เพื่อศึกษาผลที่ได้จากตัวแปร (ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์
, http://www.watpon.com)
การวิจัยเชิงทดลอง เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ความจริงโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์แบบหนึ่งซึ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงของตัวแปรในการทดลองที่เกิดขึ้น
ภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่ได้รับการควบคุมอย่างรัดกุม เพื่อศึกษาว่าเงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นนั้นเป็นสาเหตุที่แท้จริงของผลหรือปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่
โดยผู้วิจัยจะใช้วิธีการสังเกตเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรที่เปลี่ยน แปลงไประหว่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพปกติ
กับที่เกิดขึ้นในสภาพที่ได้รับการควบคุมตามเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นความจริงต่าง
ๆ สามารถนำไปใช้ในการอธิบาย ทำนาย และควบคุมได้ เป็นการวิจัยประเภทเดียวที่พยายามศึกษาผลกระทบของตัวแปรและเป็นประเภทเดียวที่มีการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลในการศึกษาทดลอง
ผู้วิจัยจะมองเห็นผลของตัวแปรอิสระเพียงตัวแปรเดียวที่ส่งผลต่อตัวแปรตามเพียง 1 ตัวหรือมากกว่า ตัวแปรอิสระในการวิจัยเชิงทดลองจะต้องพาดพิงถึงบ่อยๆ
ในฐานะที่เป็นตัวแปรทดลอง (Experimental variable) หรือ ตัวแปรจัดกระทำ(Treatment
variable) สำหรับตัวแปรตามนั้นเรียกว่า ตัวแปรเกณฑ์
(Criterion variable) หรือตัวแปรผลลัพธ์ (Outcome variable) จะนำเสนอผล (results) หรือผลลัพธ์ (Outcome) ที่ได้จากการศึกษาการวิจัยเชิงทดลองเป็นการศึกษาจากสาเหตุไปหาผล คือต้องการจะทราบว่าตัวแปรที่ศึกษานั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้นจริงหรือไม่
Participatory Action Research
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
(Participatory Action Research-PAR)
นับเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมและชุมชนที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(สกว.) และบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั้งภาครัฐและเอกชนได้ให้ความสำคัญและกระตุ้นให้นักวิจัย/นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาใช้เป็นรูปแบบในการวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์
เป็นงานวิจัยที่เริ่มต้นจากชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วม
ทั้งในมิติของการร่วมกันเรียนรู้ร่วมกันแสวงหาปัญหา
และคิดค้นแนวทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาที่เป็นเรื่องอันเป็นฉันทามติของชุมชน
รวมทั้งร่วมรับผลของการพัฒนา โดยมีนักวิจัยภายนอกทำหน้าที่เป็นผู้เอื้ออำนวย หรือวิทยากรกระบวนการร่วมกับนักวิจัยชุมชนที่เป็นชาวบ้าน
ดังนั้น การวิจัยจึงสร้างคุณลักษณะของการเรียนรู้แบบพหุภาคี
พร้อมกับบังเกิดผลพลอยได้ที่เป็นจิตสำนึกตระหนักในปัญหา หน้าที่
และร่วมกันแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่ม ทำงานร่วมกันทั้งแก้ปัญหา และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การมีส่วนร่วมนี้
ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายดังที่นักวิจัยผู้มีประสบการณ์ภาคสนามหลายท่านสะท้อนความเห็นและข้อสังเกตเอาไว้
โดยเฉพาะประเด็นของการสร้างส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยแต่ละขั้นตอนอันจะเป็นแนวทาง
และคำแนะนำที่น่าสนใจ รวมทั้งช่วยให้นักวิจัยที่สนใจใช้รูปแบบนี้ในการทำวิจัยปัญหาของสังคม
เศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อพัฒนา (Research and Development)
Research Title (หัวข้อเรื่องวิจัย)
หลายคนที่กำลังจะเริ่มต้นทำงานวิจัยมักตั้งคำถามว่า “ควรทำเรื่องอะไรดี” ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
1) หัวข้อวิจัยอาจเกิดจากความสนใจ
ประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลัง และปัญหาในการทำงาน
2) การอ่านเอกสาร
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตำรา วารสารวิจัยต่างๆ และปริญญานิพนธ์ต่างๆ
บทความต่างๆที่เกี่ยวข้อง รายงานการวิจัย เป็นต้น จากการอ่านทบทวนและการวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมเหล่านี้ จะทำให้เราทราบว่า ทำให้เราทราบถึงช่องว่างหรือโอกาสที่จะต่อยอดทางความคิดได้ หรือเรื่องที่ตนเองสนใจที่จะศึกษาหลังจากการได้อ่านผลงานวิจัยของคนอื่นแล้ว
จะได้นำข้อค้นพบจาการทำวิจัยและข้อเสนอแนะที่ผู้วิจัยให้ไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดความคิด
หรือเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำวิจัยได้
3) แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย นับเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถกำหนดที่มาของหัวข้องานวิจัยได้
โดยแหล่งทุนจะกำหนดหัวข้อกว้างๆให้ทราบว่า ขณะนี้แหล่งทุนนั้นๆกำลังสนใจที่จะสนับสนุนการวิจัยอะไรบ้าง
และอาจให้หัวข้อตัวอย่างที่น่าสนใจไว้ ผู้ที่สนใจจะรับทุนอาจดัดแปลงหัวข้อที่แหล่งทุนระบุไว้ให้เข้ากับสภาพของสังคมไทย
การตั้งชื่อหัวข้อเรื่องวิจัย
ควรต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ด้วยกันคือ 1) ส่วนที่เป็นประเด็น
หรือตัวแปรที่ศึกษา (Variable) 2)
ส่วนที่เป็นประชากรที่จะศึกษา (Population) และ 3)
ส่วนที่เป็นวิธีการศึกษาวิจัย (Methodology)
ดังนั้นการตั้งชื่อหัวข้อวิจัยนั้นต้องสัมพันธ์กับปัญหาการวิจัย
วัตถุประสงค์การวิจัย เนื่องจากชื่อเรื่องงานวิจัยที่ดีจะทำให้ผู้อ่านทราบว่างานวิจัยนี้มีปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัยคืออะไร
ทำกับใคร ที่ไหน ใช้วิธีการศึกษาอย่างไร
นอกเหนือจากส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนนี้แล้ว
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยควรประกอบด้วย
1.
ชื่อหัวข้อวิจัยไม่ควรยาวเกินไปแต่ควรสื่อความหมายของเรื่องที่จะศึกษา
2.
ควรเป็นภาษาวิชาการที่ใช้ในการวิจัย
3.
อาจระบุประชากร
หรือไม่ระบุประชากรก็ได้ (แต่ส่วนใหญ่จะระบุ)
4.
ควรเขียนเป็นข้อความเชิงบอกเล่า
5.
ควรใช้ข้อความชัดเจน กะทัดรัด
ได้ใจความว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน และด้วยวิธีใด
Research Problem (ปัญหาวิจัย)
แหล่งที่มาของหัวข้อปัญหานักวิจัยอาจได้หัวข้อปัญหามาจากแหล่งต่างๆ เช่น
1. ประสบการณ์ของผู้วิจัย ได้แก่ การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องมีปรากฏกาการณ์บางอย่างชวนให้สงสัยต้องการคำตอบที่ชัดเจนหรือจากการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบเกิดปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมาย
หรือขาดประสิทธิภาพ หรือต้องการพัฒนางานให้ดีขึ้น ก็ทำให้เกิดเป็นปัญหาวิจัยได้
2. จากการศึกษาทฤษฎีต่างๆ อย่างลึกซึ้ง
ผู้วิจัยอาจจะเห็นความไม่สอดคล้องกันภายในทฤษฎี ระหว่างทฤษฎี
หรือระหว่างทฤษฎีกับข้อเท็จจริง อยากจะตรวจสอบทฤษฎีนั้นให้ประจักษ์ชัด
หรืออาจจะตรวจสอบว่าทฤษฎีนั้น ๆ
จะทำนายปรากฏการณ์ได้สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ ฉะนั้นการศึกษาทฤษฎีต่างๆ
อย่างพินิจพิเคราะห์ก็อาจทำให้เกิดปัญหาวิจัยได้
3. ผลงานวิจัยที่ได้มีผู้ทำไว้แล้ว
การศึกษาผลงานวิจัยที่คนอื่นทำไว้แล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วน
จะช่วยให้ผู้วิจัยได้มองเห็นว่าความรู้ที่เป็นผลการวิจัยเหล่านั้นมีความชัดเจนมากน้อยเพียงใด
ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องใดบ้างที่ควรจะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่อไปเพื่อให้องค์ความรู้ในเรื่องนั้นมีความสมบูรณ์มากขึ้น
ซึ่งผู้ที่สนใจจะวิจัยในหัวข้อเรื่องคล้ายคลึงกันอาจจะได้แนวคิดไปกำหนดเป็นหัวข้อปัญหาวิจัยของตนเองได้
4. ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ที่ศึกษาติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการในศาสตร์สาขานั้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
รู้ว่าจุดใดและประเด็นใดที่ยังเป็นปัญหาที่จะต้องแสวงหาความรู้เพิ่ม
โดยผู้มีประสบการณ์เหล่านี้จะให้คำแนะนำได้เป็นอย่างดี
5. แหล่งทุนวิจัยบางหน่วยที่ต้องการผลการวิจัยในบางเรื่อง จึงเสนอเงินทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย
แหล่งทุนประเภทนี้มักจะกำหนดแนวทาง หรือหัวข้อการวิจัยที่ต้องการ
6. หน่วยงานของผู้วิจัยบางหน่วยงานมีหน้าที่ที่จะต้องทำงานวิจัย
และมักจะมีแผนงานกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ
จะทำวิจัยในหัวข้อใดบ้าง ผู้ที่ทำงานในหน่วยงานเหล่านี้
อาจได้รับมอบหมายให้ทำการวิจัยในหัวข้อที่ผู้บริหารหน่วยงานเหล่านั้นกำหนดให้ศึกษาก็ได้
เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาในการเลือกหัวข้อปัญหาวิจัย
การเลือกหัวข้อปัญหาวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ผู้วิจัยจะต้องรู้จักเลือกหัวข้อปัญหาที่เหมาะสม หัวข้อปัญหาวิจัยที่ดีควรจะเป็นปัญหาที่
1. มีความสำคัญ
มีคุณค่า
โดยต้องเป็นปัญหาที่ก่อให้ได้คำตอบหรือผลการวิจัยที่มีประโยชน์ทั้งในแง่ของการได้มาซึ่งความรู้ใหม่เป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับศาสตร์นั้นๆ
ให้สมบูรณ์ขึ้น
และในแง่ของการได้มาซึ่งสารสนเทศที่จะใช้ช่วยตัดสินใจในการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ
2. เป็นปัญหาที่จะค้นหาคำตอบได้ด้วยวิธีการวิจัย
คือสามารถจะหาหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มาอ้างอิงในการตอบปัญหานั้นได้
ไม่ใช่ปัญหาเชิงค่านิยมหรือเชิงจริยธรรม เช่น ควรให้นักศึกษาสวมเครื่องแบบมาเรียนหรือไม่
ปัญหาลักษณะนี้อาจปรับให้เป็นปัญหาวิจัยได้ว่า
นักศึกษาที่สวมเครื่องแบบมาเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ไม่สวมเครื่องแบบมาเรียนหรือไม่
3. เป็นปัญหาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับปัญหาที่ผู้อื่นได้เคยวิจัยหาคำตอบไว้แล้ว
การพิจารณาว่าหัวข้อปัญหาวิจัยซ้ำซ้อนกันหรือไม่มักจะมีประเด็นที่ต้องพิจารณา
3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ 1) คำถามวิจัยเป็นคำถามเดียวกันหรือไม่ 2) ประชากรที่ศึกษาเป็นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ และ 3) วิธีการในการตอบคำถามใช้วิธีการเดียวกันหรือไม่ ถ้าคำตอบต่อคำถามเป็น "ใช่" ทั้ง 3 ประเด็นก็ถือได้ว่าเป็นการวิจัยซ้ำซ้อนเพราะคำตอบที่ได้จะไม่มีอะไรแตกต่างกัน
เนื่องจากการวิจัยเป็นกิจกรรมที่มุ่งแสวงหาความรู้ใหม่
นักวิจัยจึงหลีกเลี่ยงที่จะทำวิจัยในหัวข้อปัญหาที่ได้มีผู้ศึกษาไว้แล้ว
4.
ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือภัยพิบัติต่อผู้วิจัยหรือผู้ให้ข้อมูล
5.
เป็นปัญหาที่สามารถจะดำเนินการวิจัยให้สำเร็จลุล่วงไปได้
คือมีลักษณะดังนี้
-
ขอบเขตของปัญหาจะต้องไม่กว้างจนเกินไป
-
เป็นปัญหาที่ผู้วิจัยมีพื้นความรู้มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี
-
มีหลักฐานข้อมูลเพียงพอที่จะตอบปัญหานั้นได้
- มีเทคนิควิธี
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ศึกษาในเรื่องนั้นได้
-
เหมาะสมกับงบประมาณค่าใช้จ่ายที่ได้รับ
-
เหมาะสมกับเวลา
Research Question (คำถามวิจัย)
คำถามวิจัยนี้นับเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดในการออกแบบงานวิจัย
จึงควรใช้ข้อความที่ชัดเจนและแสดงถึงสิ่งที่ต้องการทราบคำตอบเพราะจะทำให้สามารถกำหนดรูปแบบและโครงสร้างของงานวิจัยในเบื้องต้นได้
คำถามการวิจัย
มักประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้
1. ประเด็นในการวิจัย หรือตัวแปร
2. กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย
3. บริบทการวิจัย
องค์ประกอบทั้งสามนี้
สามารถสังเกตเห็นได้จากข้อความซึ่งนักวิจัยได้เรียบเรียงออกมาในรูปของประโยคเชิงคำถาม
ซึ่งประโยคเชิงคำถามดังกล่าวจะระบุให้เห็นถึงประเด็นที่นักวิจัยสนใจ ต้องการศึกษา และสะท้อนให้เห็นแนวทางในการทำวิจัย
วัตถุประสงค์การวิจัย
(Research Objective) หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา
ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา
และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ
ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม
ในการวิจัยเชิงคุณภาพ
การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการวิจัย ปรากฏการณ์
ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์
คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น
เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ
กรอบความคิดเชิงทฤษฎี
(Theoretical
framework) เป็นแบบจำลองหรือโมเดล (Model) ที่แสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องตามทฤษฎีที่ผู้วิจัยยึดเป็นกรอบในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) หมายถึง เป็นกรอบความคิดที่ผู้วิจัยปรับมาจากกรอบความคิดเชิงทฤษฎี
(Theoretical framework) ด้วยการปรับลดตัวแปรในกรอบความคิดเชิงทฤษฏี
โดยมีเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจเป็นอย่างดี กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ
(concept)ในเรื่องนั้น
แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง
ๆ
ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป
กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี
จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา
หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย
การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย
Variable (ตัวแปร) หมายถึง คุณลักษณะ (Trait or
Characteristic) หรือคุณสมบัติ (Property)
ของสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา สามารถแปรค่าได้ และค่าที่วัดหรือลักษณะของสิ่งนั้นจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิจัย
ทั้งนี้ คุณลักษณะของตัวแปรอาจจะอยู่ในรูปปริมาณ (Quantitative) เช่น น้ำหนัก
อายุ ส่วนสูง เป็นต้น
และในรูปคุณภาพ (Qualitative) ได้เช่นกัน เช่น เชื้อชาติ อาชีพ ศาสนา
เพศ เป็นต้น
ซึ่งตัวแปรนี้จะต้องมีลักษณะของการแปรค่าได้ตั้งแต่ 2
ค่าขึ้นไป เช่น
เพศ จะต้องมี 2
เพศหรืออาจจะมากกว่า
เชื้อชาติ ฐานะ สีผิว
ส่วนสูง วิธีการสอน เป็นต้น
ซึ่งแต่ละตัวแปรต้องมีค่ามากกว่า 2 ค่า
การนิยามตัวแปร
(Variable Definition) หมายถึง
การอธิบายหรือการให้คำจำกัดความตัวแปรที่เป็นนามธรรม หรือคำศัพท์ต่างๆ
ที่ยากแก่การเข้าใจ
ความสำคัญของการนิยามตัวแปรมีดังนี้
1. ช่วยในการทำวิจัยตามแนวความคิดที่กำหนดไว้
2. ช่วยในการสร้างเครื่องมือวิจัย
3. ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปรผล
5. ช่วยให้ทำวิจัยตามนิยามที่ให้ไว้
6. ช่วยในการตรวจสอบและประเมินผลงานวิจัยตามที่นิยามไว้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
ในการทำวิจัยนั้นนักวิจัยต้องนิยามตัวแปรหรือคำศัพท์ที่เป็นนามธรรมออกเป็น
2 ระดับ คือ
1. นิยามตามทฤษฎี (Theoretical
Definition) หรือนิยามทั่วไป (General Definition)เป็นการให้คำจำกัดความในภาพกว้างๆ หรือในความหมายทั่ว ๆไป
ตามทฤษฎีหรือตามที่ตำราหรือพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้
โดยมิได้เฉพาะเจาะจงลงไปแต่อย่างใด ซึ่งการนิยามในระดับนี้ไม่สามารถทำวิจัยได้
2. นิยามปฏิบัติการ (Operational
or Working Definition) เป็นการให้คำจำกัดความที่ชี้ชัดลงไป
(Specific Definition) หรือเป็นการแยกออกเป็นส่วนๆ ลงไป
โดยให้อยู่ภายใต้นิยามทั่วไป (General Definition) ซึ่งการนิยามในระดับนี้
ผู้วิจัยต้องนิยามเอง
Independent
Variable
Independent
Variable (ตัวแปรอิสระ ตัวแปรต้น ตัวแปรจัดการกระทำ ตัวแปรเร้า ตัวแปรป้อน) หมายถึง ตัวแปรที่เกิดก่อน ตัวแปรที่เป็นเหตุ/สาเหตุ
ตัวแปรที่มีอิทธิผลต่อตัวแปรอื่น ตัวแปรที่สนับสนุนตัวแปรอื่น
ตัวแปรที่ส่งเสริมตัวแปรอื่น ตัวแปรที่ส่งผลต่อตัวแปรอื่น
ตัวแปรที่กระทำต่อตัวแปรอื่น ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อตัวแปรอื่น
ทั้งนี้ตัวแปรอิสระ นิยมเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ X ซึ่งเมื่อตัวแปรอิสระเปลี่ยนค่าทำให้เกิดการเปลี่ยนค่ากับตัวแปรหนึ่ง ถ้า X เกิดขึ้นจะมีผลทำให้ Y เกิดขึ้น
ตัวอย่างตัวแปรอิสระในการวิจัยทางการศึกษา ได้แก่
กลยุทธ์ทางการสอน วิธีสอน เพศ ระดับชั้น อายุของนักเรียน ระดับการศึกษาและประสบการณ์การสอนของครู
ตัวแปรตาม (Dependent Variable)
หมายถึง สิ่งหรือผลการกระทำใดก็ตามที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสร
กล่าวคือ ตัวแปรที่ได้รับผลหรือเป็นผลจากอิทธิพลของตัวแปรอิสระ
ตัวอย่าง
การเปรียบเทียบผลการเรียนวิชาทักษะการวิจัยเบื้องต้นระหว่างกลุ่มที่เข้าเรียนกับกลุ่มที่ไม่เข้าเรียน
ตัวแปรอิสระ คือ วิธีการเรียน
ตัวแปรตาม คือ ผลการเรียนวิชาทักษะการวิจัย
ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variable) หมายถึง สิ่งที่มีบทบาทหรือมีผลกระทบต่อตัวแปรตาม
โดยที่นักวิจัยไม่ได้คำนึงถึงหรือไม่ได้นำมาพิจารณาในการวิจัย
ตัวอย่าง
การเปรียบเทียบผลการเรียนวิชาทักษะการวิจัยเบื้องต้นระหว่างกลุ่มที่เข้าเรียนกับกลุ่มที่ไม่เข้าเรียน
จากตัวอย่างข้างต้น ตัวแปรแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่อผลการเรียนวิชาทักษะการวิจัยเบื้องต้นของ นักศึกษา ได้แก่ สติปัญญา (IQ), EQ , เพศ ,อายุ ฯลฯ
ตัวแปรกลาง (Moderator Variable) เป็นอีกประเภทหนึ่งของตัวแปรอิสระ
ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาอิทธิพลของตัวแปรอิสระที่แท้จริงมีความชัดเจนมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยต้องการทราบอิทธิพลของ A ที่มีต่อ B
แต่อาจสงสัยว่าอิทธิพลดังกล่าวจะมีมากน้อยเพียงใดอาจขึ้นกับระดับของ C ด้วย ดังนั้นในกรณีนี้ C
จึงถือเป็นตัวแปรกลางซึ่งจะช่วยให้การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง A และ B
มีความชัดเจนมากขึ้นนั่นเอง ลักษณะที่อิทธิพลของ A
มีต่อ B
มากน้อยเพียงไรขึ้นกับระดับของ C ด้วยนั้นเรียกว่า A และ C มีอิทธิพลร่วม (Interaction effect) ซึ่งกันและกัน
ข้อตกลงเบื้องต้น(Assumption) เป็นข้อความที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่านยอมรับโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจงานวิจัยนั้นอย่างไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ นอกจากนี้การเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้วิจัยและผู้อ่านมีความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย
และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ
และมีประโยชน์ต่อผู้วิจัยในแง่ของการเลือกใช้สถิติอีกด้วย
.ข้อจำกัด (limitation) เป็นข้อความที่ผู้วิจัยเขียนเมื่อทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว
ซึ่งพบจากผลการวิจัย ซึ่งเป็นจุดอ่อนของการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่าน
ผู้ใช้ผลงานวิจัย ได้พึงระวังในการนำผลการวิจัยไปใช้ การเขียนข้อจำกัดของการวิจัย
อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับ ขอบเขต หรือข้อตกลงเบื้องต้นก็ได้
แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้วิจัย
ซึ่งผู้วิจัยจำเป็นต้องเขียนว่าเหตุการณ์นั้นจะส่งผลต่อการสรุปผลการวิจัยอย่างไร
การนิยามตัวแปร definition
นิยามศัพท์เฉพาะ (Definitions) คือ การกำหนดความหมายของคำสำคัญบางคำที่ใช้ในการวิจัย
ซึ่งคำเหล่านี้
มีความหมายเฉพาะในการวิจัยครั้งนี้อย่างไร
โดยมีทั้งนิยามทั่วไป และนิยามปฏิบัติการ
การนิยามศัพท์เชิงทฤษฎี (conceptual definition): เป็นการใช้ทฤษฎีหรือแนวคิดต่าง ๆ มาอธิบายหรือให้ความหมายของตัวแปรนั้นอย่างชัดเจน
แต่ยังมีลักษณะที่เป็นนามธรรมอยู่ เช่น ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกหรือความประทับใจด้านบวก
ที่เป็นผลมาจากการได้รับบริการจริงเมื่อเทียบกับความคาดหวังจากการใช้บริการ
การนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ (operational definition): เป็นการแปลงความหมายของตัวแปรจากทฤษฎีที่เป็นนามธรรม โดยระบุถึงลักษณะหรือพฤติกรรมที่สามารถสังเกตและวัดได้
เช่น ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกหรือความประทับใจทางด้านบวก ที่เป็นผลมาจาก รูปแบบและประโยชน์ของสินค้า
กลยุทธ์ที่ใช้ในการส่งเสริมการตลาดราคาของสินค้า การให้บริการของพนักงาน
ความสำคัญของการวิจัย (Significance of the study) คือ ข้อความที่ชี้ให้เห็นว่าเมื่อศึกษาวิจัยแล้ว
ข้อค้นพบนั้นจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะใด อย่างไร ข้อความนี้ควรเขียนเป็นแบบพรรณนา
โดยเขียนให้สอดคล้องกับ
ความมุ่งหมายของการวิจัย
Review of Related Literature
หมายถึง วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องการศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังทำการศึกษา
เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
จุดมุ่งหมายของการทบทวน เพื่อให้ทราบว่ามีผู้ใดเคยศึกษาหรือวิจัย มาก่อน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการศึกษาของผู้วิจัยอื่นๆ
เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรคที่เคยพบของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประโยชน์ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม
- เป็นการกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้เหมาะสม จะได้ไม่กว้างหรือแคบเกินไป
- เสนอแนวคิด หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
- ช่วยให้มีความรู้ในเรื่องที่วิจัยมากขึ้น
- ป้องกันการวิจัยที่ซ้ำซ้อนกับเรื่องที่มีผู้ทำมาก่อนแล้ว
- เป็นการกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้เหมาะสม จะได้ไม่กว้างหรือแคบเกินไป
- เสนอแนวคิด หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
- ช่วยให้มีความรู้ในเรื่องที่วิจัยมากขึ้น
- ป้องกันการวิจัยที่ซ้ำซ้อนกับเรื่องที่มีผู้ทำมาก่อนแล้ว
Population
หมายถึง
กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ประชากรในทางสถิติอาจจะหมายถึง บุคคล
กลุ่มบุคคล องค์กรต่างๆ สัตว์ สิ่งของ ก็ได้ เช่น ถ้าเราสนใจศึกษาอายุเฉลี่ยของคนไทย
ประชากรคือคนไทยทุกคน สนใจรายได้เฉลี่ยของธนาคาร ประชากรคือธนาคารทุกธนาคาร
เป็นต้น ใช้สัญลักษณ์
“N” แทนจำนวนประชากร
Sample
หมายถึง
กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล
เช่น ต้องการหาอายุเฉลี่ยของคนไทย
ตัวอย่างคือคนไทยบางคนที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่าง หรือสนใจอายุการใช้งานเฉลี่ยของหลอดไฟยี่ห้อ
B ประชากร คือ หลอดไฟยี่ห้อ B ทุกหลอด ตัวอย่างคือ
หลอดไฟยี่ห้อ B บางหลอดที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่าง เป็นต้น
Sample
Size ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีลักษณะดังนี้
Ø
มีจำนวนมากพอที่จะทำการทดสอบความเชื่อมั่นทางสถิติได
Ø
มีจำนวนมากพอที่จะสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
Ø กลุ่มตัวอย่างที่ได้จะเป็นตัวแทนของประชากร
ค่าสถิติซึ่งเป็นค่าที่คำนวณได้จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง
จะมีค่าใกล้เคียงกับค่าพารามิเตอร์ (Parameter)
Probabilistic Sampling
การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็นเทคนิค ของการสุ่มตัวอย่าง
โดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น
เป็นการสุ่มตัวอย่างที่สมาชิกทุกหน่วยในประชากรมีโอกาสถูกเลือกเท่า ๆ กัน
หรือสามารถคำนวณหาโอกาสที่จะได้รับการสุ่ม แบ่งออกเป็นการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random
Sampling) เป็นการสุ่มที่เหมาะกับจำนวนประชากรไม่มากประชากรมีลักษณะเป็นเอกพันธ์
และทราบขนาดของประชากร เช่น การจับสลากการสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling)
เป็นการสุ่มที่เหมาะกับประชากรที่มีจำนวนมาก มีหมายเลขและบัญชีประชากรเรียงลำดับไว้อย่างเป็นระบบ
เช่น รายชื่อนักศึกษาที่เรียนระดับปริญญาตรี การสุ่มแบบแบ่งชั้น
(Stratified Random Sampling)
เป็นการสุ่มที่เหมาะกับประชากรที่มีจำนวนขนาดใหญ่และมีความแตกต่างกันมาก
เมื่อแบ่งเป็นชั้นแล้วจะมีความแตกต่างกันน้อยลง การสุ่มแบบกลุ่ม
(Cluster Random Sampling) เป็นการสุ่มที่เหมาะกับประชากรที่มีขนาดใหญ่มากและคุณสมบัติของประชากรมีความหลากหลาย
มีกลุ่มย่อยซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขึ้น
แต่เป็นคุณลักษณะของประชากรอยู่การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage
Sampling) เป็นการสุ่มที่เหมาะกับประชากรที่มีขนาดใหญ่มาก มีความหลากหลายกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
ผู้วิจัยอาจทราบหรือไม่ทราบกรอบกลุ่มตัวอย่างที่สมบูรณ์
ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีการสุ่มหลายขั้นตอนและหลายวิธีในกลุ่ม มีการแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย
แล้วจึงสุ่มตัวอย่างไว้
Random
Sampling การสุ่มตัวอย่าง เป็นการเลือกสมาชิกหรือกลุ่มตัวอย่างจากประชากร
โดยสมาชิกที่เลือกจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
สมาชิกที่เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจะต้องมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกทุกตัวในประชากร
คุณลักษณะหรือคุณสมบัติต่าง ๆ
ของสมาชิกในกลุ่มตัวอย่างจะแทนคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสมาชิกในประชากรทั้งหมด
Research methodology framework หมายถึง ขอบเขตและโครงสร้างในการกำหนดระเบียบวิธีการวิจัย
ที่เชื่อมโยงแนวความคิดเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย
และไตร่ตรองว่าจะใช้ระเบียบวิธีใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา
และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและดำเนินการของขั้นตอนต่าง
ๆ ในการวิจัย
Research Design
แบบการวิจัย แบบแผนการวิจัย
แบบการทดลอง แบบแผนงานวิจัยเชิงทดลอง ล้วนมีความหมายถึง research design ทั้งสิ้น (champbell,1979; tuckman,1999;อ้างถึงในมาเรียม
นิลพันธุ์,2555 หน้า 142) นอกจากนี้ Cresswell .. ยังได้กล่าวถึงไว้ในลักษณะที่คล้ายกันอีกด้วย
หลักการคือ max min con คือ
ให้ตัวแปรที่ศึกษาได้ส่งผลต่อการทดลองมากที่สุด (max)
ให้ตัวแปรที่ไม่ต้องการมีผลต่อการทดลองน้อยที่สุด (min)
และควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนไม่ให้เกี่ยวข้องกับการทดลอง (control) ซึ่งแบบแผนงานวิจัยเชิงทดลองสามารถจำแนกได้เป็น 3
ประเภทคือ
1.
pre-experimental design
2.
quasi-experimental design
3.
true-experimental design
จากการศึกษาพบความแตกต่างงระหว่างแบบแผนงานวิจัยเชิงทดลองทั้ง
3 ประเภทดังนี้ pre
มีการสุ่มกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม (สุ่มทั้งกลุ่ม) quasi มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 2
กลุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (โดยสุ่มตัวอย่างเข้าการทดลองทีละ 1 กลุ่ม) true มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มเหมือน quasi แต่สุ่มตัวอย่างทีละ 1 คนเข้าไปในแต่ละกลุ่ม
กลุ่มทดลอง (Experimental group)
หมายถึง
กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยจัดให้ได้รับการจัดกระทำ (treatment) ในการทดลอง ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะแสดงให้เห็นว่าตัวแปรต้นมีผลอย่างไรต่อตัวแปรตาม
เครื่องมือการวิจัย (Research Instrument)
เครื่องมือการวิจัย
หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์หรือเทคนิควิธีการที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัยหรือวัดตัวแปรที่ต้องการศึกษา
ดังตัวอย่างเช่น
1. แบบสอบถาม
( Questionnaire )
2. การสัมภาษณ์ ( Interview)
3. การสังเกตการณ์ ( Observation )
4.แบบทดสอบ (Test)
2. การสัมภาษณ์ ( Interview)
3. การสังเกตการณ์ ( Observation )
4.แบบทดสอบ (Test)
5. แบบบันทึกต่างๆ
6. ตัวผู้วิจัย
แบบทดสอบ (test) คือ เครื่องมือในการวัดผลชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นวิธีการที่มีระบบซึ่งอาจเป็นชุดคำถาม
รายการ
หรือสถานการณ์ที่ใช้กระตุ้นให้ผู้ถูกทดสอบแสดงพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตในช่วงเวลาที่กำหนด
เพื่อเปรียบเทียบการกระทำของบุคคลนั้นกับคนอื่น ๆ หรือกับเกณฑ์มาตรฐานที่วางไว้
แบ่งได้ 2 ประการ คือ
1 แบบทดสอบอัตนัย (Subjective Test)
2 แบบทดปรนัย (Objective
Test)
หรือแบบตอบสั้น (Short
Answer) แบ่งได้ 4 ชนิด
คือ
- แบบถูก-ผิด (True-Fault)
- แบบเติมคำ (Completion)
- แบบจับคู่ (Matching)
- แบบเลือกตอบ (Multiple Choice)
Observation From (แบบสังเกต)
แบบสังเกต
(Observation form) เป็นการเก็บรวมรวบข้อมูลโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าของผู้สังเกตในการศึกษา
การสังเกตแบ่งตามวิธีการสังเกตได้
2 ประเภท คือ
1.
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) การสังเกตแบบนี้จะเป็นลักษณะที่ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วมหรือทำกิจกรรมร่วมกับผู้ถูกสังเกต
โดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกตอยู่
2.
การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant observation) การสังเกตแบบนี้จะเป็นลักษณะผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมหรือไม่ได้เข้าทำกิจกรรมกับผู้สังเกต
หลักการในการสังเกต
1.
ต้องมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการสังเกตที่ชัดเจน
2.
ขณะทำการสังเกตต้องสังเกตอย่างรอบคอบ
ตั้งใจ และไม่ทำแบบ
ผิวเผิน
ผิวเผิน
3.
เมื่อสังเกตเห็นสิ่งใดให้ทำการจดบันทึกไว้ทันที
และไม่ลำเอียงในการจดบันทึก
4.
ในการสังเกตบางเรื่องควรจะมีการสังเกตซ้ำ
ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการสรุปที่เที่ยงตรง
5.
ในการสังเกตต้องใช้ผู้ที่มีความรอบรู้
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1.
กำหนดสิ่งที่ต้องการวัดหรือทดลอง
2.
ให้คำนิยามสิ่งที่ต้องการวัด
3.
เลือกวิธีการรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ได้
4.
เตรียมสร้างเครื่องมือ
5.
พิจารณาทบทวนเครื่องมือก่อนนำไปตรวจสอบคุณภาพ
6.
ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและทำการปรับปรุงแก้ไข
7.
สร้างคู่มือการใช้เครื่องมือ
การวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือสำหรับการวิจัย
สามารถทำได้
2 แบบ คือ
1.
การวิเคราะห์รายข้อ
การวิเคราะห์แบบนี้จะตรวจสอบคุณภาพด้านระดับความยากและอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ
2.
การวิเคราะห์รวมทั้งฉบับ
การวิเคราะห์แบบนี้เพื่อตรวจสอบความเชื่อมั่นทั้งฉบับ
Focus Group Discussion
การสนทนากลุ่มย่อย (Focus
group discussion ) ในทางปฏิบัติจะทำกับกลุ่มประชากรเล็กๆ 5 - 10 คน เนื่องจากผู้เข้าร่วมการสนทนาทุกคนจะได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นกันเอง ผู้ดำเนินการ (Moderator)
จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการนำการสนทนากลุ่มย่อยมามากพอสมควร รวมทั้งมีเทคนิคและวิธีการที่จะทำให้การสนทนาได้
รับผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ได้รับข้อเสนอแนะการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายจากผู้ร่วมสนทนา เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับจากการสนทนากลุ่มย่อยในแต่ละครั้ง ในการเก็บข้อมูลการวิจัย
ประโยชน์ของการสนทนากลุ่มย่อย
1. เพื่อให้ผู้ที่เข้าสนทนามีส่วนร่วมและสามารถแสดงออกทางความคิดเห็นได้อย่างแท้จริงและเปิดเผย
2. เพื่อศึกษาและเรียนรู้ความคิดเห็นตลอดจนความต้องการในเชิงบวกของผู้ที่ร่วมสนทนา
3. เพื่อวัดความรู้ ความเข้าในและความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของพนักงานที่มีต่อองค์กร
4. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ
และประสบการณ์กับพนักงาน ในการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้ มากขึ้น
5. เพื่อสร้างความเป็นกันเองระหว่างพนักงานด้วยกันและระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชาของตนเอง
6. เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะตลอดจนคำแนะนำที่อาจมีประโยชน์ต่อองค์กรทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
7. เพื่อนำความคิดเห็นที่ได้จากการสนทนากลุ่มย่อยไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงานและใช้เป็นข้อมูลใน
การพัฒนาบุคลากรขององค์กรต่อไป
หลักและวิธีการดำเนินการในการทำ สนทนากลุ่มย่อย
1. มีผู้ดำเนินการหนึ่งคน และผู้ช่วยผู้ดำเนินการ (ผู้คอยจดบันทึก
- สรุปผล) อีกหนึ่งคน รวมสองคน
2. มีผู้ร่วมสนทนากลุ่มละประมาณ 10 - 12 คน โดยนั่งล้อมรอบผู้ดำเนินการและผู้ช่วยผู้ดำเนินการ
3. ผู้ดำเนินการควรจดประเด็นการพูดคุยไว้ เพื่อกันการลืมระหว่างการสนทนา
4. ควรสร้างบรรยากาศก่อนการสนทนาให้เกิดความเป็นกันเองให้มากที่สุด
โดยอาจเริ่มการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการไปก่อน
5. ผู้ดำเนินการจะต้องจำชื่อผู้ที่ร่วมสนทนาให้ได้ทุกคน
ถ้าเกรงว่าจะจำไม่ได้ให้ใช้วิธีจดชื่อไว้ในสมุดบันทึกตามตำแหน่งที่คนๆ นั้นนั่งอยู่
6. เริ่มการสนทนาโดยพูดเรื่องที่ใกล้ตัวของผู้ร่วมสนทนาก่อน
เช่น คุยเรื่องงานในหน้าที่ ณ ปัจจุบัน
7. พยายามให้ผู้ร่วมสนทนาทุกคนได้มีส่วนในการออกความคิดเห็นและได้ร่วมพูดมากที่สุดและอย่างทั่วถึง
(เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของผู้ดำเนินการที่ต้องมีประสบการณ์การทำสนทนากลุ่มย่อยมาก่อน)
8. ระยะเวลาการสนทนา ประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ
(ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป ผู้ร่วมสนทนาจะเบื่อหน่ายได้)
9. สถานที่สนทนาไม่ควรมีเสียงรบกวนมากนัก
อาจใช้ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขกหรือถ้ามีสนามหญ้าหรือร่มใต้ ต้นไม้นอกอาคารก็ได้แล้วนั่งล้อมวง
10. เวลาในการสนทนา ควรเป็นเวลาที่ผู้ร่วมสนทนาว่างจริง
ๆ เพื่อทุกคนจะได้อยู่ร่วมสนทนาจนจบ ไม่ลุกออกไปก่อนการสนทนาจะเสร็จสิ้น
11. ผู้ช่วยสามารถช่วยซักถามหรือร่วมสนทนาด้วยได้
โดยเฉพาะบางประเด็นที่ผู้ดำเนินการอาจตกหล่นบ้าง
12. หลังการสนทนาเสร็จในแต่ละกลุ่มแล้ว
ผู้ดำเนินการและผู้ช่วยควรมาสรุปผลสั้นๆ และวิเคราะห์ร่วมกัน
หมายเหตุ ผู้ที่จะเป็น ผู้ดำเนินการ
( Moderator) จำเป็นต้องได้รับการฝึกปฏิบัติโดยการเป็นผู้ช่วย
(Assistant) มาก่อน
ผลลัพธ์โดยรวมที่จะได้จากการสนทนากลุ่มย่อย
การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public
Participation) เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินโครงการที่ต้องการความโปร่งใส
(Transparency) ความร่วมแรง ร่วมใจจากทุกฝ่าย
โดยเฉพาะจากคนในองค์กรเดียวกัน ซึ่งถือเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
(Stakeholder) โดย ตรง
ซึ่งจะสามารถลดความขัดแย้งลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังได้รับทราบความต้องการที่แท้จริงของพนักงานในส่วนต่างๆ
ขององค์กรด้วย
การสนทนากลุ่มย่อย (Focus
group discussion) เป็น วิธีการที่ดีและดูจะเหมาะกับวิถีชีวิตของคนไทยวิธีหนึ่งในการดำเนินกิจกรรม
การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะของการแลก เปลี่ยนความคิดเห็น
การแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ เสรีของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของการสื่อสารสองทาง
(Two - way communication)
การ สนทนากลุ่มย่อยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ผู้เขียนได้ประยุกต์มาหลายครั้งจนคิดว่า
เข้ากับลักษณะนิสัยของคนไทยดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงเสมือนการสร้างบรรยากาศที่ไม่เหมือนการประชุม
แต่เป็นการสนทนาอย่างเป็นกันเองในลักษณะ การจับเข่าคุยกัน ซึ่งผู้ดำเนินการ (Moderator)
จะต้องเป็นผู้ ที่มีประสบ
การณ์ในการนำการสนทนากลุ่มย่อยมามากพอสมควร รวมทั้งมีเทคนิคและวิธีการที่จะทำให้การสนทนาได้
รับผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ได้รับข้อเสนอแนะการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายจากผู้ร่วมสนทนา
เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับจากการสนทนากลุ่มย่อยในแต่ละครั้ง
Document
Analysis
หมายถึง
การวิเคราะห์เอกสารเพื่อให้ได้ข้อมูลหลายแง่มุม ครอบคลุมการตอบคำถามการวิจัยได้ชัดเจนมากขึ้น
โดย 2
เอกสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
2 เอกสารชั้นต้น(Primary
sources) คือเอกสารที่เป็นข้อมูลหรือหลักฐานที่เป็นต้นฉบับ เช่น
บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน
โบราณวัตถุ เป็นต้น
2 เอกสารชั้นรอง (Secondary sources) คือข้อมูลหลักฐานที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว เช่น ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
จากนั้นมีการบันทึกข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสารลงในแบบฟอร์มการวิเคราะห์เอกสาร
ซึ่งจะใช้ผลจากการวิเคราะห์เอกสารนี้ควบคู่กับการเก็บข้อมูลวิธีการอื่นๆ
เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัย
การวิเคราะห์เอกสาร ทำได้ทั้งวิธีการเชิงคุณภาพ
และวิธีการเชิงปริมาณ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ข้อมูลในเอกสาร
¨
วิธีการเชิงคุณภาพ > สร้างข้อสรุปความหมายที่แฝงอยู่ในข้อความที่บันทึกในเอกสาร
รวมทั้งพยาม ค้นหา ตีความหมายที่แฝงอยู่ในข้อความนั้นๆอีกด้วย
¨
วิธีการเชิงปริมาณ > สนใจเฉพาะข้อความในเอกสารไม่ได้มีการตีความ
หรือหาความหมายแฝงใดๆ
iหากนำเอกสารวิทยานิพนธ์
10 เล่ม ที่ศึกษาปัญหาวิจัยเดียวกัน
มาทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับการตั้งชื่อเรื่อง, กรอบแนวคิด ฯลฯ
เรียกว่า การสังเคราะห์งานวิจัย เป็นวิธีการเชิงคุณภาพ
แต่หากนำมาวิเคราะห์โดยอาศัยตัวเลขหรือวิธีการทางสถิติ เรียกว่า
การวิเคราะห์อภิมาน (Meta Analysis) เป็นวิธีการเชิงปริมาณ
C0ntent Analysis
หมายถึง การวิเคราะห์เนื้อหา
เป็นการวิเคราะห์เอกสารโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณ
โดยอธิบายข้อความเท่าที่ปรากฏในเอกสารโดยจำแนกข้อความด้วยการใช้ระบบจำแนกที่ชัดเจน
ตรวจสอบได้ แล้วจึงนับความถี่ของข้อมูลหรือข้อความที่ปรากฏในเอกสาร
เช่น
ในภาพเขียนลักษณะอิมเพรสชั่นนิสนั้น สามารถแยกออกมาได้ว่า ใช้สีจำนวน 4 สี
เพื่อให้เกิดเป็นภาพภาพนั้น หรือคนใช้คำพูด พูดซ้ำๆ กันกี่ครั้ง
จากนั้นใช้การเขียนอธิบายข้อค้นพบที่ได้จากการวิเคราะห์
โดยไม่มีการตีความหรือหาความหมายแฝงใดๆที่จะมีอยู่ในข้อความ
Validity (ความเที่ยงตรง)
ความเที่ยงตรงเป็นการวัด ได้ตรงตามวัตถุประสงค์
และพฤติกรรมที่ต้องการให้วัด วัดได้ครอบคลุมครบถ้วน
ตามเนื้อหาที่ต้องการวัดและวัดได้ถูกต้องตรงความเป็นจริง
ประเภทความเที่ยงตรง
นักวิชาการทางด้านวัดผลและประเมินผลได้จำแนกประเภทความเที่ยงตรงไว้
3 ประเภท คือ
1. ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) คือการวัดได้ครอบคลุมเนื้อหาหรือสาระสำคัญในสิ่งที่ต้องการ
2. ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง( Construct Validity) เป็นความสามารถของเครื่องมือที่จะวัดคุณลักษณะหรือพฤติกรรมตามโครงสร้างของทฤษฎี
3. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์(Criterion –Related
Validity ) เป็นความสามารถของเครื่องมือวัดได้ตรงกับเกณฑ์ภายนอก
ซึ่งอาจเป็นเกณฑ์ในปัจจุบันหรือเกณฑ์ในอนาคต ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์
แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
คือความตรงตามสภาพและความตรงตามการพยากรณ์
3.1
ความเที่ยงตรงตามสภาพ หรือความตรงร่วมสมัย( Concurrent
Validity ) หมายถึง
ความสามารถของเครื่องมือวัดได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงของบุคคลในปัจจุบัน
3.2 ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive
Validity ) หมายถึงความสามารถของเครื่องมือที่สามารถทำนายความสามารถของบุคคลในอนาคต
Reliability ความเชื่อมั่น
ความเชื่อมั่นเป็นค่าความคงที่ของผลการวัดที่มีความสม่ำเสมอคงที่
และแน่นอน จากเครื่องมือเดียวกัน ไม่ว่าจะทำการวัดกี่ครั้งจะให้ผลการวัดเท่าเดิม
หรือใกล้เคียงกับของเดิมนั่นคือ เครื่องมือมีความเชื่อมั่นสูง
ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ เป็น ความคงที่ในผลของการวัด
กล่าวคือไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็ตามจะได้ผลของการวัดคงที่อย่างสม่ำเสมอ
การวัดครั้งแรกได้ผลเท่าใด เมื่อวัดซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ยังให้ผลเท่าเดิม เช่น
เมื่อนำก้อนหินก้อนหนึ่งไปวางบนตาชั่งซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายๆ ครั้ง
ตาชั่งก็บอกน้ำหนักของก้อนหินก้อนนั้นเท่าเดิมทุกครั้งไม่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้แสดงว่าตาชั่งเครื่องนั้นมีคุณสมบัติของความเชื่อมั่น
ดังนั้น ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบจึงหมายถึง
ความคงที่ของคะแนนที่เป็นผลจากการวัดของแบบทดสอบ
กล่าวคือเมื่อนำแบบทดสอบไปให้นักเรียนคนหนึ่งทำกี่ครั้งก็ตาม
นักเรียนก็จะได้คะแนนเท่าเดิมทุกครั้ง
Discrimination ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก เป็นคุณสมบัติที่บ่งบอกถึงความสามารถของข้อสอบที่จำแนกเด็กเก่ง
– อ่อน จะมีค่า D เป็นตัวดัชนีชี้บ่งให้ทราบว่า
ข้อสอบข้อใดมีอำนาจจำแนกสูงก็เป็นข้อสอบที่ดี หมายถึง
ข้อสอบข้อนี้คนทำถูกจะเป็นพวกกลุ่มเก่ง
ถ้าใครทำผิดจะเป็นพวกกลุ่มอ่อน
สูตรคำนวณ D =
D คือ ค่าอำนาจจำแนก
RU คือ
จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มคะแนนสูง
RL คือ
จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มคะแนนต่ำ
NH คือ
จำนวนนักเรียนทั้งหมดในกลุ่มคะแนนสูงหรือกลุ่มคะแนนต่ำ
Difficulty
ระดับความยากง่าย ( p ) หมายถึง
สัดส่วนของจำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบได้ถูกต้องต่อจำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบทั้งหมด หรือหมายถึงจำนวนร้อยละของผู้ตอบข้อสอบนั้น ๆ
ถูก ตัวอย่างเช่น ค่า p = 0.30 แสดงว่า จำนวนผู้ตอบ 100
คน
มีผู้ที่ตอบข้อนั้น ๆ ถูก 30
คน ค่าความยากง่ายจะมีค่าระหว่าง 0
ถึง 1.00
ในการพิจารณาค่าความยากง่ายนั้น ถ้าข้อสอบมีค่าความยากง่ายสูง เช่น p = 0.95 แสดงว่า มีผู้ตอบถูกจำนวนมาก จึงถือว่าเป็นข้อสอบที่ง่าย แต่ในทางกลับกัน ถ้าข้อสอบมีผู้ตอบถูกน้อย เช่น p =
0.15 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ยาก
ข้อสอบที่ดีจะมีระดับความยากง่าย เท่ากับ
0.5 ซึ่งจะทำให้เกิดค่าอำนาจการจำแนกสูงสุดและมีความเที่ยงสูง
อย่างไรก็ตามในการสอบวัดความรู้ผลการเรียนโดยทั่วไป
มักนิยมให้มีข้อสอบที่มีระดับความยากง่ายในระดับต่าง ๆ ปะปนกันไป โดยจัดให้มีข้อสอบมีค่าความยากง่ายพอเหมาะ ( p
มีค่าใกล้เคียง 0.5 ) เป็นส่วนใหญ่
รวมทั้งให้มีข้อสอบที่ค่อนข้างยากและค่อนข้างง่ายอีกจำนวนหนึ่ง
แต่ถ้าเป็นการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถควรมีสัดส่วนของข้อสอบที่ยากสูงขึ้น
ทั้งนี้ ข้อสอบที่ดีควรมีค่าความยากง่ายระหว่าง
0.20 – 0.80 ในข้อสอบประเภท 4 ตัวเลือก
ส่วนข้อสอบประเภทถูก – ผิด ค่าความยากง่าย ควรอยู่ระหว่าง 0.60
- 0.95
Efficiency
ประสิทธิภาพ
หมายถึง
ผลดีที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม
หรือการดำเนินงาน นั่นคือ หากจะวัดว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ มีส่วนประกอบหลายส่วน หลัก ๆ
คือ
ควรพิจารณากระบวนการดำเนินงานว่า ก่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้หรือไม่ 1. ความประหยัด (Economy)
ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดต้นทุน (Cost) ประหยัดทรัพยากร
(Resources) หรือ ประหยัดเวลา (Time) 2. ความรวดเร็ว
ทันตามกำหนดเวลา (Speed) ก็เป็นอีกตัวบ่งชี้ว่าเกิดประสิทธิภาพหรือไม่
เพราะหากการดำเนินงานก่อให้เกิดความประหยัดทรัพยากร แต่ไม่ทันตามกำหนดเวลา
ก็ไม่ถือว่ามีประสิทธิภาพ 3. ความมีคุณภาพ (Quality) ซึ่งพิจารณาทั้งกระบวนการตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า (input) หรือวัตถุดิบ
ต้องมีการคัดสรรอย่างดี กระบวนการทำงาน/กระบวนการผลิต (process) ที่ดี จนกระทั่งได้ผลผลิต
(output)ที่ดี แม้ว่ากระบวนการดำเนินงานจะประหยัด และรวดเร็ว
แล้วจะต้องไม่ทำให้คุณภาพของงานลดลง หากประหยัด รวดเร็ว
แต่คุณภาพงานลดลงก็ไม่ถือว่าเกิดประสิทธิภาพ ดังนั้น หากจะพิจารณาในประเด็นของความประสิทธิภาพ
จะต้องพิจารณาในขั้นตอน หรือกระบวนการดำเนินงานทั้งหมด
Effectiveness
ประสิทธิผล หมายถึง
การทำกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรสามารถสร้าง
ผลงานได้สอดรับกับเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ทั้งในส่วนของผลผลิต
และผลลัพธ์ เป็นกระบวนการเปรียบเทียบผลงานจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ ก่อให้เกิด
ผลผลิต ผลลัพธ์ ที่ตรงตามความคาดหวัง ที่กำหนดล่วงหน้าไว้มากน้อยเพียงใด
การมีประสิทธิผลจึงมีความเกี่ยวข้องกับผลผลิตและผลลัพธ์การดำเนินงานเป็นกระบวนการ
วัดผลงานที่เน้นด้านปัจจัยนำออก
Pilot Study or Try out
เป็นขั้นตอนย่อยขั้นตอนหนึ่งในวิธีการ หรือกระบวนการวิจัย
ที่เมื่อกำหนดหรือได้ศึกษาตามขั้นตอนการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล การสร้างเครื่องมือ :ซึ่งในการสร้างเครื่องมือ เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบบสอบถาม
แบบสัมภาษณ์ ฯลฯ ก็ตาม เมื่อเสนอแก่ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content
Validity) แล้ว ก็จะมีการปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือ
แล้วนำเครื่องมือนั้นไปทดลองใช้ (Try - Out)
เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
ก็จะได้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาฉบับที่สมบูรณ์
ซึ่งการทดลอง(Try out) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น
ควรใช้กับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แต่มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่าง
ในการศึกษา ที่สำคัญกลุ่มทดลองดังกล่าวต้องมีความรู้หรือได้รับประสบการณ์ในเรื่องนั้นมาก่อน แล้วจึงนำผลมาวิเคราะห์หาค่าคุณภาพ
เครื่องมือบางชนิดจำเป็นต้องตรวจสอบคุณภาพทุกด้าน
แต่บางชนิดสามารถตรวจสอบเพียงบางด้าน ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะของชนิดเครื่องมือนั้น ๆ
คุณภาพของเครื่องมือที่จำเป็นต้องตรวจสอบ
มี 5 ด้าน ได้แก่
1.
ความเที่ยงตรง (Validity)(หรือความตรง)
เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือที่วัดในสิ่งที่ต้องการวัด ความเที่ยงตรงแยกย่อยเป็น
ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา(วัดเนื้อหาสาระ
ได้ครบถ้วนตามหลักสูตรและจุดประสงค์)
และ ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (วัดพฤติกรรมและสมรรถภาพด้านต่าง ๆ
ได้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดตามหลักทฤษฎี)
2.
ความเชื่อมั่น (Reliability)(หรือความเที่ยง)เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือที่แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือนั้น
ๆ ให้ผลการวัดที่สม่ำเสมอ คงที่ แน่นอน ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็ตาม
3.
ความเป็นปรนัย (Objectivity) เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือที่มีลักษณะต่าง
ๆ ดังนี้คือ
- คำถามมีความชัดเจน ชี้เฉพาะ
อ่านแล้วเข้าใจตรงกัน
- การตรวจให้คะแนนมีความแน่นอน
ตรงกันไม่ว่าใครจะตรวจก็ตาม
- แปลความได้ชัดเจนว่า
คะแนนที่ได้มีความสามารถอยู่ในระดับใด
4.
ความยากง่าย (Difficulty เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
p) เป็นคุณสมบัติของข้อสอบที่บอกว่าข้อสอบนั้นมีคนทำถูกมากน้อยเพียงใด
เครื่องมือที่ดีต้องมีความยากง่ายพอเหมาะ
5.
อำนาจจำแนก (Discrimination เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
r) เป็นคุณสมบัติที่จำแนกกลุ่มเก่งกลุ่มอ่อนออกจากกัน
หรือจำแนกความคิดเห็นที่ต่างกันออกเป็นสองกลุ่มได้
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีอยู่หลายชนิด
ซึ่งที่ใช้กันบ่อย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์(ส่วนใหญ่จะนำมาใช้กันเป็นแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน
และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า
(แบบนี้จะใช้ตอนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ/ประเมินนวัตกรรม และ ใช้วัดเจตคติของนักเรียน)
เพื่อให้ทราบว่าเครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ต้องตรวจสอบคุณภาพด้วยวิธีการใด ส่วนวิธีการหานั้นหากจะหาด้วยการใช้สูตรก็สามารถทำได้
หรือให้สะดวก ก็สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน
Research Result
การวิจัยต้องเป็นกระบวนการที่มีระเบียบวิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์และต้องให้ความรู้ใหม่ที่เชื่อถือได้
ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Research
แปลว่าค้นหาซ้ำ หรือการสืบค้นใหม่
คำว่า
‘R E S E A R C H’ นั้นสามารถใช้แสดงลักษณะสำคัญของการวิจัย
ได้ดังต่อไปนี้
RESEARCH
R = (Recrultment&
Relationship) หมายถึงการฝึกฝนให้มีความสามารถใน
การรวบรวมความรู้ที่มีความสัมพันธ์กัน
E = (Education & Efficieney) หมายถึงผู้วิจัยต้องมีการศึกษา และความรู้ใน
ความสามารถในการวิจัย
S = (Sciences & Stimulation) หมายถึง การเป็นศาสตร์ที่ต้องการพิสูจน์ค้นคว้า
เพื่อหาความจริง
ผู้วิจัยจะต้องมีความคิด สร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความ
กระตือรือร้นที่จะทำวิจัย
E = (Evaluation &
Environment) หมายถึง รู้จักประเมินผลว่ามีประโยชน์
สมควรแก่การดำเนินการต่อไป หรือไม่
และต้อง ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัยได้
อย่างเหมาะสม และเที่ยงตรง
สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ดี สังเคราะห์ และ
วิเคราะห์ได้อย่างมีคุณภาพ
A = (Aim & Attitude) หมายถึง มีจุดมุ่งหมาย หรือเป้ าหมายที่แน่นอน และมี
ทัศนคติที่ดีต่อการติดตามผลการวิจัย
R = (Result) หมายถึง
ผลงานของการวิจัยไม่ว่าจะออกมาในลักษณะใดก็ตาม จะต้อง
ได้รับการยอมรับเนื่องจากเป็นการทำงานอย่างมีระบบ
C = (Suriosity) หมายถึง
ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น มีความสนใจ และ
ขวนขวายอยู่ตลอดเวลา
H = (Horizon) หมายถึง ผลงานของการวิจัย
จะเป็นเสมือนแสงสว่าง ซึ่งหมายถึง
การแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ดังนั้น Research
Result คือ
การยอมรับในผลจากการวิจัย
เพราะการวิจัยเป็นกระบวนการที่เป็นระบบตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์
Conclusion
ทั้งขั้นตอน หรือกระบวนการวิจัย และขั้นตอน
หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ต่างมีขั้นสุดท้ายที่ตรงกันคือ การสรุปผล ซึ่งในขั้นตอนการวิจัย
การสรุปผล เป็นการสรุปผลว่าการวิจัยครั้งนี้ได้ผลอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งอภิปรายผล
และให้ข้อเสนอ
ส่วนใน ขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ การสรุปผล (Conclusion) คือ การตอบคำถาม
และสรุปสิ่งที่ได้ศึกษาคำตอบต้องเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้ เนื่องจากมีกระบวนการหา
คำตอบที่มีระบบแบบแผน มีการใช้เหตุผล
ขั้นตอนการวิจัย
ประกอบด้วย
1. การกำาหนดปัญหา(Problem Identification)
2. การตั้งสมมุติฐาน (Formulation Hypothesis)
3. การรวบรวมข้อมูล(Collection of Data)
4. การวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analysis)
5. การสรุปผล (Conclusion)
ขั้นตอน
หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific
Method) มีดังนี้
1 ขั้นนิยามปัญหา (Problem)
2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis)
3 ขั้นเก็บข้อมูล (Data Collection)
4 ขั้นตอนวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
5 ขั้นสรุปผล (Conclusion)
Discussion
วิจารณ์ผล (discussion)
คือ
การแปลความหมายหรือประเมินผลบทวิจารณ์ที่ดีต้องครอบคลุมมีรายละเอียดได้แก่ นำผลการทดลองไปเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์และสมมุติฐาน ว่าสอดคล้องหรือขัดแย้งกันหรือไม่
หาเหตุผลทางวิชาการและพยายามหาผลงานนักวิจัยอื่นๆ มาสนับสนุน
ไม่ควรเขียนซ้ำรายงานของผู้อื่นที่กล่าวมาแล้วในบทนำ เปรียบเทียบผลการทดลองนี้กับการทดลองอื่น
ๆ ที่ทำมาก่อนว่าสอดคล้องหรือขัดแย้งกันหรือไม่
ควรให้ข้อสรุปถึงผลการค้นพบที่สำคัญและคำแนะนำเกี่ยวกับผลการวิจัย
การวิจารณ์เป็นส่วนสำคัญและเป็นการแสดงถึงความรอบรู้และเฉียบคมของผู้วิจัย
ในการที่จะชี้นำให้ผู้อ่านทราบถึงคุณค่าของผลการวิจัยและมีความเห็นคล้อยตาม
Recommendation
ข้อเสนอแนะ (Recommendation)
คือ ข้อเสนอแนะเป็นผลจากการสรุป
และข้อยุติซึ่งนำมาเขียนเป็นข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติ หรือเพื่อประโยชน์อื่นๆ
เช่น ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อันจะทำให้งานบรรลุผลสัมฤทธิ์
ข้อเสนอแนะควรสอดคล้องและเป็นเหตุเป็นผลสนับสนุนซึ่งกันและกันกับสาเหตุ
ข้อเสนอแนะต้องชัดเจนเกิดประโยชน์สำหรับผู้ที่จะนำไปใช้ ข้อเสนอแนะอาจเป็นการแนะนำทั้งส่วนที่ว่าควรจะทำและไม่ควรจะทำ
Connoisseurship
การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ
(Connoisseurship) อิสเนอร์
(Eisner) เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดการประเมินโครงการโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบการประเมินโดยทั่ว
ๆ ไปการประเมินแบบนี้จะเน้นที่บทบาทของผู้ประเมินโดยไม่ยึดจุดมุ่งหมายไม่ได้คำนึงถึงปัญหาหรือข้อโต้แย้งใดๆ และไม่ได้ประเมินโครงการ โดยอาศัยการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ แต่เป็นการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโครงการนั้น
ๆ ซึ่งเป็นผู้กำหนดแนว (Guide
lines) และเกณฑ์ประเมิน ดังนั้นการประเมินจึงเกิดขึ้นจากการสำรวจ ตรวจสอบโครงการของผู้เชี่ยวชาญ และเกณฑ์ที่ผู้เชี่ยวชาญกำหนดขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทางวิชาชีพของผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) กล่าวโดยสรุปการประเมินโครงการโดยผู้เชี่ยวชาญนี้เรายอมรับ ผลการประเมินเพราะผู้เชี่ยวชาญมีความรู้และเชี่ยวชาญในสาขานั้น
ๆ ผนวกกับความมีชื่อเสียงของผู้เชี่ยวชาญเอง
จึงทำให้ผลการประเมินเป็นที่เชื่อถือได้
Writing journal (การเขียนบันทึก)
Journal เป็นการเขียนอย่างต่อเนื่องของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งที่รู้สึกในสิ่งที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตของตัวเอง อาจแตกต่างกันเล็กน้อยกับคำว่า Diary ตรงที่ไม่เพียงแต่อธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อเหตุการณ์และความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์นั้นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเกิดกับตัวผู้เขียนด้วย
(แต่มันก็ไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะเรียกสิ่งที่เขียนว่าอะไร จุดประสงค์ในการเขียนคือ
1.
เป็นการเริ่มต้นฝึกเขียนที่ดีและง่ายที่สุดสำหรับคนเริ่มเขียน เพราะมันไม่มีกฎเกณฑ์อะไรสั่งให้เขียนอย่างโน้นอย่างนี้
ไม่ต้องใช้ความพยายามหรือแรงบันดาลใจอะไรมากมายในการเขียนบันทึก มันไม่สำคัญว่าจะสะกดเป็นไหม ลายมืออ่านยากหรือไม่ หรือไม่ต้องคิดถึงวิธีสร้างสรรค์ใดๆ ในการเขียนถึงสิ่งที่รู้สึก ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรือเรียกร้องเทคนิคอะไรเป็นพิเศษ
เพียงเขียนไปตามที่เป็นจริงเขียนไปตามความคิดและมุมมองเท่านั้น และที่สำคัญมันเป็นการเขียนเรื่องส่วนตัวแท้ ๆ
จึงไม่ต้องกังวลว่า
ผู้อ่านจะชอบหรือไม่ชอบ
2.
เป็นการปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกที่กดดันอยู่ภายในระบายออกมาเป็นตัวหนังสือ
ทำให้ภาวะเครียดลดลง
3.
เป็นการบันทึกเรื่องราวกระบวนการเติบโตทางความคิดของตัวผู้เขียนในแต่ละช่วงชีวิตที่ผ่านไป
ซึ่งเป็นเหมือนการเดินทางของจิตใจ
เป็นเหมือนการเปิดรับฟังเสียงที่อยู่ภายในของตัวเอง ซึ่งในตอนเขียนหากคุณได้ยินเสียงที่เกิดจากภายในของตัวตนของคุณเองจริง
ๆ คุณก็จะเข้าใจในตัวเองมากขึ้น ทำอะไรได้สุขุมรอบคอบยิ่งขึ้น
Unobtrusive methods การศึกษาเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลที่มีอยู่ตามสภาพปกติ
เป็นการศึกษาเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลที่มีอยู่ตามสภาพปกติโดยตัวนักวิจัยจะต้องไม่พยายามเข้าไปเก็บข้อมูลจากคนหรือกลุ่มเป้าหมาย
ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคล
เช่น จำนวนยี่ห้อของกระป๋องเครื่องดื่ม สามารถหาได้จากถุงขยะ และสามารถวัดถึงระดับการบริโภคได้ หรือ Content Analysis ก็มีลักษณะการวิจัยแบบ unobtrusive
method หรือ non-reactive
method คือผู้วิจัยไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ถูกวิจัย
เช่น การที่นำบทความทางหนังสือพิมพ์มาศึกษาวิจัย ผู้เขียนบทความนั้นจะไม่รู้เลยว่าบทความของตนถูกนำไปวิจัย แต่ก็มีข้อที่ควรระวัง ถ้าหากว่าเป็นการทำ Content
Analysis จากบทสัมภาษณ์อาจทำให้เกิด reactive
effect ได้
เยี่ยมมาก ขอบคุณค่ะ
ตอบลบด็อปครับวิชานี้นอนโรงบาลอ่ะ
ตอบลบมีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
ตอบลบขอบคุณมากคร่าาาาา มีประโยชน์มากค่ะ สำหรับการเขียน abstract
ตอบลบเริ่มจะอยากดร็อปแล้ว ปวดหัวบ่อย นอนไม่พอ แก้หลายรอบแล้ว ( วิจัยภาษาอังกฤษ ) ป.โท รู้สึกว่าโง้ โง่ ตอนนี้แหละ
ตอบลบ