วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Mastery Learning

                                                    Skinner (1953) นักจิตวิทยาด้านพฤติกรรมนิยม
                                                   ฺำืBenjamin Bloom (1971)


                                                John B. Carroll (1971)
วันนี้ได้ไปอ่านเรื่อง Mastery Learning และProgrammed Instruction ในหนังสือชื่อ Models of Teaching ของ Bruce Joyce Marsha Weil and Emily Calhoun ผมแปลเป็นภาษาไทยว่า การจัดการเรียนการสอนแบบรู้จริง กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป โดยสรุปคือ
Mastery Learning ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์อย่างละเอียด วางแผนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละบุคคลและแต่ละกลุ่มชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้และกฎระเบียบต่างๆ ผู้เรียนดำเนินการเรียนรู้ตามแผนที่ผู้สอนจัดไว้และมีการประเมินผลตามวัตถุประสงค์โดยผู้สอนให้คำปรึกษาและชี้แนะ ถ้าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้แล้ว ให้ผู้เรียนไปเรียนรู้ในเรื่อง หรือวัตถุประสงค์ถัดไป หากผู้เรียนไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ให้จัดสอนซ่อมเสริมจนกระทั่งนักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ ระยะเวลาในการเรียนรู้ของผู้เรียนแตกต่างกันตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ผู้สอนต้องมีการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน โดยเก็บข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อที่จะนำข้อมูลไปวางแผนในการสอนครั้งต่อไป
Programmed Instruction ผู้สอนจะต้องวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของผู้เรียนในการเรียนรู้ส่วนต่างๆสร้างบทเรียนสำเร็จรูปที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน และชี้แจงวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ และวิธีใช้บทเรียนให้ผู้เรียนเข้าใจผู้เรียนดำเนินการศึกษาบทเรียนด้วยตนเอง โดยครูให้คำปรึกษาแนะนำตามความเหมาะสมทำแบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนเก็บข้อมูลของผู้เรียนเพื่อการประเมิน
            กล่าวโดยสรุปคือความรู้ในสิ่งต่างๆ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์มีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าการที่มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มความสามารถซึ่งหากได้รับการส่งเสริมแบบถูกวิธี ดังนั้นรูปแบบการจัดการด้านการเรียนการสอนหรือหลักสูตรต้องนำไปปฏิบัติได้ โดยมีความเชื่อว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนจนรอบรู้ได้ ถ้ามีเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้เท่าที่ต้องการ ซึ่งเป็นที่มาของการเรียนรู้เพื่อรอบรู้ Mastery Learning
            ผมอ่านบทนี้แล้วนึกย้อนกลับไปในงานเขียนของศ.นพ.ประเวศ วะสี เรื่องระบบการศึกษา ที่แก้ปัญหาความทุกข์ยากของแผ่นดิน จัดพิมพ์โดยศูนย์จิตปัญญาศึกษา และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลที่ผมอ้างถึงมาสองสามครั้งแล้ว ท่านพูดในตอนหนึ่งว่าถ้าปลุกคนขายก๋วยเตี๋ยวให้มาสอนทำก๋วยเตี๋ยวตอนดึกเขาสามารถสอนได้เลย เพราะเขาเรียนรู้แบบรู้จริงรอบรู้ในเรี่ยงที่ตัวเองถนัด แต่ถ้าวันนี้ปลุกครูให้มาสอนบางทีครูอาจจะสอนไม่ได้ อาจจะต้องขอเวลาเตรียมสอนเพราะไม่ได้เรียนรู้อย่างรอบรู้แต่เป็นการเรียนรู้อย่างท่องจำโดยขาดความรอบรู้และรู้จริง ในอาทิตย์ขอเสนอแนวความคิดไว้เท่านี้ครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น