ผมไปสะดุดตากับหนังสือลดราคาขายถูกเล่มหนึ่งชื่อ คู่มือปฐมพยาบาลด้านจิตใจ (Psychological First Aid and Human Support) โดยมี นายแพทย์มาโนช มุกาตี เป็นผู้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่ได้รับความร่วมมือจากสภากาชาดเดนมาร์ก ผมนึกอย่างเร็วๆว่าหากวันหนึ่งเราจำเป็นต้องปฐมพยาบาลด้านจิตใจให้กับผู้ที่ประสบปัญหาวิกฤติ เราจะมีความรู้พื้นฐานอะไรที่จะไปช่วยบำบัดความเจ็บปวดด้านจิตใจของเขาเหล่านั้น และอะไรจะทำให้เรามั่นใจว่าสิ่งเหล่านั้นถูกต้องตามหลักการการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ เป็นเรื่องของการช่วยเหลือให้กำลังใจแก่ทุกชีวิต ที่ประสบปัญหาโดยเข้าไปมีส่วนร่วมและเป็นเพื่อน เพื่อเสริมสร้างให้เขารู้สึกมีความหวังและมีที่ยึดเหนี่ยว การช่วยเหลือไม่ใช่แค่เพียงต้องมีความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันด้วย มีงานวิจัยที่แสดงว่ามนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความสำคัญมากในกระบวนการฟื้นฟูจิตใจให้พ้นวิกฤตร้ายแรงได้ การปฐมพยาบาลด้านจิตใจแม้จะดูว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แต่คนส่วนใหญ่มักไม่ทราบและไม่แน่ใจว่าสมควรจะทำอย่างไรเมื่อเราพบผู้เคราะห์ร้ายที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยมีหลักการดังนี้
1. การช่วยเหลือให้กำลังใจ
เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะเสนอความช่วยเหลือให้กับผู้ทุกข์ยาก ในสถานการณ์ที่เราคิดว่าเราจะมีประโยชน์ แต่บางครั้งความไม่สนิทสนมอย่างเพียงพอ หรือความสงสัยของเราว่าเราได้ทำสิ่งที่ถูกต้องหรือเปล่า และเนื่องจากเราเองก็อยู่ในภาวะเครียด ท้ายสุดอาจจะรู้สึกลำบากใจ และกระวนกระวายใจ แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพคือการได้รับการให้กำลังใจจากบุคคลที่ไม่คาดฝัน ผู้รับเคราะห์กรรมมักจะมองข้ามความเป็นจริงเมื่อเผชิญกับภาวะที่ผิดปกติ ในระยะพักฟื้นการมีความสัมพันธ์กับคนอื่นจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเครือขายสังคมธรรมชาติรอบตัว (Natural social network)
2. การมีความรู้สึกร่วม (empathy)
การพยายามที่จะเข้าใจประสบการณ์ความเจ็บปวดของผู้เคราะห์ร้าย ผู้ช่วยเหลือควรตั้งใจฟังเขาพูด ฟังสิ่งที่เขาพูและสังเกตวิธีการพูดของเขา เรามักจะเข้าใจภาษากายของผู้เคราะห์ร้ายได้โดยสัญชาติญาณ
3. จะให้ความช่วยเหลืออย่างไร
ภาวะช็อก อาจช่วยปกป้องเราจากการรับรู้ความจริงที่ไม่อยากจะยอมรับ มีความสำคัญมาก ที่จะแสดงความเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายในระหว่างช็อกและหลังจากนั้น เพื่อช่วยให้เขาสามารถใช้พลังงานที่เหลือต่อสู้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
4. ผู้เคราะห์ร้ายต้องการทราบข้อมูลชนิดไหน
การรับรู้สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุมีความสำคัญมากต่อผู้เคราะห์ร้าย เมื่อเขาไดรับรายละเอียดทั้งหมดจะทำให้เขาเข้าใจสถานการณ์อย่างดีขึ้น และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ ถ้าเขาได้รับแต่ความคลุมเครือจะทำให้เกิดอาการกังวล
5. ทำไมการช่วยเหลือที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญ
การจัดการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายที่กำลังกลัวหรือสับสนมีความสำคัญ การช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจะเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์และแสดงการเอาใจใส่
6. การแสดงความสนใจด้วยความเคารพ
เราควรจะแสดงความสนใจโดยแสดงความจริงใจอย่างเปิดเผยต่อผู้เคราะห์ร้าย ฟังเรื่องราวที่เขาเล่าถึงแม้จะได้ยินมาแล้วหลายครั้ง หรือแม้เรื่องที่เรานั้นอาจแตกต่างไปจากเดิม ผู้รับเคราะห์อาจจะไม่สามารถเผชิญกับเรื่องเดิมที่เขาไม่ชอบ หรือเผชิญกับเรื่องที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในใจ
7. การสื่อสาร การฟังอย่างตั้งใจ
ถ้าผู้ประสบเคราะห์ต้องการที่จะเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ช่วยเหลือควรพูดคุยกับเขา อย่าพยายามลดความรุนแรง หรือแต่งเติมเรื่องราว หรือดึงความสนใจเขาออกมาจากเรื่องนั้น ผู้รับเคราะห์จะเล่าเหตุการณ์วิกฤติผ่านและประสบการณ์ของเขา หลังจากนั้นเขาจะลดอาการกังวลลง
8. ความหมายความและความสำคัญของพิธีการต่างๆ
วิกฤติบางอย่างอาจหนักหนาสาหัสเกินกว่าที่จะรับมือตามลำพัง จำเป็นต้องใช้ประเพณีและพิธีการตามวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นเข้าช่วย ในทุกชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรมของตนเองเกี่ยวกับชีวิตและความตาย พิธีการจะเหมือนสัญญาลักษณ์และช่วยให้บุคคล หรือหมูคณะที่ประสบภาวะวิกฤติผ่านพ้นไปด้วยดี
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน โดยส่วนแรกจะให้ภาพการพัฒนาความช่วยเหลือด้านจิตใจ ส่วนที่สองจะอาศัยพื้นฐานงานวิจัยของการให้กำลังใจ โดยกรองวิธีพูดของผู้เชียวชาญมาเป็นกระบวนการฟื้นฟูสภาพจิตใจ และส่วนที่สามการช่วยเหลืออย่างมืออาชีพเข้ามาช่วย โดยมีวิธีการต่างๆเพื่อให้การช่วยเหลือครอบคุมขณะเกิดภาวะวิกฤติ กล่าวโดยสรุปแล้วเมื่อเหตุการณ์ไม่ว่าจะประสบปัญหาวิกฤติ ประสบภัยพิบัติหรือภาวะเครียดจากเหตุการณ์ภายนอก หรือสูญเสียสิ่งที่สำคัญบางอย่าง ที่มีผลกระเทือนจิตใจของผู้เคราะห์ร้ายอย่างรุนแรง กำลังใจเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจ ดังนั้นในหลักสูตรการศึกษาของสังคมไทยควรมีสาระการเรียนรู้ของการปฐมพยาบาลด้านจิตใจต่อมนุษย์แบบถูกวิธี อาจจะทำผู้เคราะห์ร้าย พ้นภาวะ วิกฤติ กังวล เครียด เพราะการให้กำลังใจที่ดีจะทำให้ทั้งผู้ช่วยเหลือและผู้ประสบเคราะห์กรรมประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาและช่วยใช้ชีวิตเป็นปกติสุขร่วมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น