ในสัปดาห์นี้ผมก็ยังจะพูดถึงหนังสือของท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี เรื่องระบบการศึกษา ที่แก้ปัญหาความทุกข์ยากของแผ่นดิน จัดพิมพ์โดยศูนย์จิตปัญญาศึกษา และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านได้กล่าวถึงการศึกษาแบบต่อท่อเอาสรรพสิ่งจากยุโรป เหมือนท่อน้ำเพื่อนำน้ำมาสู่พื้นที่แห้งแล้ง การต่อท่อความรู้เป็นลักษณะของการศึกษาไทยมาจนวันนี้ ทำให้ตัดรากเหง้าของตัวเองจนเกิดวิกฤตไปทุกด้าน เพราะวิธีชีวิตร่วมกันของกลุ่มชนที่สอดคล้องกันกับสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆเป็นวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า การศึกษาต่อท่อนี้ทำให้ต้องอาศัยตำราเป็นสื่อไม่ว่าจะเป็นภาษายุโรปหรือภาษาไทยก็ตาม ทำให้การศึกษาของสังคมไทยกลายเป็นการศึกษาแบบท่องตำรา เป็นต้น
แนวคิดการศึกษาไทยสมัยใหม่ว่าคือการต่อท่อความรู้จากยุโรปมีผลอย่างมากับสังคมไทย 8 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาเป็นการศึกษาตัดแปะความรู้มาจากภายนอกไม่ใช่ระเบิดพลังแห่งการเรียนรู้จากภายใน
ด้วยความเป็นการศึกษาแบบตัดแปะความรู้จึงทำให้คนไทยมีความรู้แบบผิวเผินขาดการเชื่อมโยงกับรากฐานของตัวเอง ทำให้คนไทยไม่เข้าใจตัวเองและขาดความรู้ที่ลึกซึ้งในระดับสากล
2. เกิดการศึกษาที่เอาวิชาในตำราเป็นตัวตั้ง
ความรู้จากต่างประเทศมาในรูปแบบของตำรา ทำให้การศึกษาไทยกลายเป็นการท่องหนังสือหรือการถ่ายทอดจากหนังสือเป็นสำคัญเรียนรู้แบบแยกส่วนวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่เอาชีวิตและสังคมเป็นตัวตั้ง
3. เพิ่มการขาดศีลธรรมพื้นฐานทางสังคม
ด้วยการที่เอาวิชาเป็นตัวตั้ง คนส่วนใหญ่จึงไม่มีเกียรติไม่มีศักดิ์ศรี นักเรียนเมื่อเข้าเรียนจึงทำให้รู้สึกว่าสถาบันของเรามีเกียรติ ชาวบ้านเป็นคนไร้เกียรติทำให้ขาดความเคารพนับถือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ เมื่อขาดศีลธรรมเสียแล้วสิ่งต่างๆก็เกิดขึ้นยาก
4. ทำให้ขาดครูดีในโรงเรียน
ขาดครูดี เพราะครูส่วนใหญ่ติดกับตำรา ตัวอย่างเช่นถ้าปลุกคนขายก๊วยเตี๋ยวมาสอนให้มาสอนทำก๊วยเตี๋ยวในเวลากลางคืนเขายอมสอนได้ แต่ถ้าปลุกครูมาสอนในเวลากลางคืนอาจจะต้องขอเวลาเตรียมสอน เพราะเก่งท่องจำความรู้ในตำราเมื่อการศึกษาเน้นที่การเรียนจากความรู้ในตำราจึงขาดแคลนครูดี
5. สร้างมายาคติในระบบคูณค่า
เราได้สร้างระบบค่านิยมที่คับแคบ การเป็นคนดีมีค่ายิ่งกว่าการมีการศึกษาดี เพราะอาจจะเห็นว่าเด็กฆ่าตัวตายเมื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ มายาคติบีบคั้นคนทั้งสังคมทำให้ทุกข์ เครียด ไม่ภูมิใจในตัวเอง
6. ทำให้การเรียนรู้เป็นความทุกข์
การเรียนแบบท่องจำทำให้คนไทยขาดการวิเคราะห์สิ่งที่รับรู้ให้เป็นความรู้ที่ถูกต้องมีวิจารณญาณ คนไทยจึงขาดวิจารณญาณ เพราะการศึกษาแบบนี้นำไปสู่การล้างสมองด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางธุรกิจ
7. ขาดการเห็นคุณค่าของการทำงาน
การศึกษาที่สร้างคนหยิบโหย่งรังเกียดสายอาชีพทำงานก็ไม่เป็นสร้างความรู้ก็ไม่เป็น จบการศึกษาแต่ทำงานไม่เป็น ไม่มีความอดทน ไม่มีความรับผิดชอบขาดการเห็นคุณค่าของการทำงาน
8. ระบบ top down บอนไซการเรียนรู้
เน้นการบังคับบัญชาจากบนลงล่าง กำหนดกรอบตัวชี้วัดลงไป จำกัดความคิด การปฏิบัติ การริเริ่มให้คับแคบเหมือนการบอนไซ เน้นการสั่งการ กำหนดกรอบ ตัวชี้วัด ปิดจินตนาการ ปิดความริเริ่มอย่างหลากหลายตามธรรมชาติของผู้คน จึงบอนไวการเรียนรู้ บอนไซประเทศ
ผลเสียของแนวคิดการศึกษาแบบต่อท่อความรู้ก่อให้เกิดความทุกข์ยากของคนไทย ทั้งโดยตรงต่อผู้เรียนและพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งโดยอ้อมเกิดความล้มเหลวของประเทศจากคนค้อยคุณภาพ และมีทัศนคติไม่ถูกต้องต่อสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น