วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)



วันนี้บุคลากรด้านการศึกษาครูอาจารย์ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยบางแห่งได้ให้ความสำคัญกับปีพุทธศักราช 2558 หรืออีกสีปีข้างหน้าเป็นอย่างยิ่ง หลายๆสถาบันได้มีการจัดกิจกรรมในหลากหลายกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้กับครูอาจารย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมาคมประชาคมแห่งชาติเอเชียตะวันตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนมากยิ่งขึ้น รวมถึงการพยายามสร้างจิตสำนึกของความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เพื่อเตรียมการรองรับการขยายตัวของกลุ่มอาเซียนที่จะมีความสัมพันธ์ในภูมิภาคในทุกมิติ
ประชาคมอาเซียนถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 หลังจากการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนก็มีความคืบหน้าที่ดี และในที่สุดอาเซียนได้มุ่งหวังที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558 ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือการเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกันโดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรีและเงินลงทุนที่เสรีมากขั้น มีความสามารถในการแข่งขันสูง มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก
หากจะมองบทบาทที่สำคัญด้านการศึกษาใน เสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมอาเซียนจะสนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นผ่านหลักสูตรอาเซียนในโรงเรียน และเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนให้ทุกๆประเทศได้ทราบ ทั้งนี้จะเน้นในหลักการประชาธิปไตยของประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางสันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียน ให้ความสำคัญและตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมูอาจารย์ผ่านการอบรมโครงการแลกเปลี่ยน และจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียน (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF) อย่างสม่ำเสมอ
การศึกษากับเสาหลักด้านเศรษฐกิจ ประชาคมอาเซียนจะสนับสนุนการเคลื่อนย้ายฝีมือแรงงานในถูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคดำเนินการควบคู่ไปกับความพยายามในการปรับปรุงมาตรฐานด้านการศึกษาและวิชาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาค และสนับสนุนให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
บทบาทการศึกษากับเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม ประชาคมจะสนับสนุนให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัย และให้ภาษาของอาเซียนเป็นภาษาต่างชาติวิชาเลือกในระดับโรงเรียน รวมถึงมีโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของโรงเรียนในกลุ่มอาเซียน และเครือข่ายมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญและส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคเพื่อเป็นเวทีสำหรับนักวิจัยของประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นวิจัยของภูมิภาคมากขึ้น
วันนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ชาวไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้เพื่อนบ้าน และให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาไทย หรือสามารถใช้ภาษาเพื่อทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน มีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน แสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน มีเพื่อนและเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน วันนี้ต้องถามว่าเราพร้อมหรือยังกับการเปลี่ยนแปลงในโลกที่แคบลงทุกวันใบนี้  


อ้างอิง
http://old.asean.or.jp/eng/general/publish/index.html
http://th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น